สตรีมีสองมือ
มั่นยึดถือในแก่นสาร
เกลียวเอ็นจักเป็นงาน
มิใช่ร่านหลงแพรพรรณ
สตรีมีสองตีน
ไว้ป่ายปีนความใฝ่ฝัน
ยืนหยัดอยู่ร่วมกัน
มิหมายมั่นกินแรงใคร
สตรีมีดวงตา
เพื่อเสาะหาชีวิตใหม่
มองโลกอย่างกว้างไกล
มิใช่คอยชม้อยชวน
สตรีมีดวงใจ
เป็นดวงไฟไม่ผันผวน
สร้างสมพลังมวล
ด้วยเธอล้วนก็คือคน
สตรีมีชีวิต
ล้างรอยผิดด้วยเหตุผล
คุณค่าเสรีชน
มิใช่ปรนกามารมณ์
ดอกไม้มีหนามแหลม
มิใช่แย้มคอยคนชม
บานไว้เพื่อสะสม
ความอุดมแห่งผืนดิน !
มั่นยึดถือในแก่นสาร
เกลียวเอ็นจักเป็นงาน
มิใช่ร่านหลงแพรพรรณ
สตรีมีสองตีน
ไว้ป่ายปีนความใฝ่ฝัน
ยืนหยัดอยู่ร่วมกัน
มิหมายมั่นกินแรงใคร
สตรีมีดวงตา
เพื่อเสาะหาชีวิตใหม่
มองโลกอย่างกว้างไกล
มิใช่คอยชม้อยชวน
สตรีมีดวงใจ
เป็นดวงไฟไม่ผันผวน
สร้างสมพลังมวล
ด้วยเธอล้วนก็คือคน
สตรีมีชีวิต
ล้างรอยผิดด้วยเหตุผล
คุณค่าเสรีชน
มิใช่ปรนกามารมณ์
ดอกไม้มีหนามแหลม
มิใช่แย้มคอยคนชม
บานไว้เพื่อสะสม
ความอุดมแห่งผืนดิน !
ประชาธิปไตย
4 พฤศจิกายน 2516
4 พฤศจิกายน 2516
ทำไมต้องเน้น... "ประชาธิปไตย ?
4 พฤศจิกายน 2516"
4 พฤศจิกายน 2516"
หลักของการอ่าน
1.วิเคราะห์ : ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ทำไม >> ทั้งหมดนี้มีหัวใจอยู่ที่ชื่อเรื่อง "ประชาธิปไตย" และสิ่งที่สำคัญคือ 4 พฤศจิกายน 2516 ทุกคนรู้ว่าเวลาเป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่เคยให้ความสำคัญกับเวลา... มันคือจุดอ่อนอย่างที่สุดเลยนะคะ "รู้แต่ไม่ใช้ จะรู้ไปทำไม?"
ถ้าได้อ่านประวัติศาสตร์ในปีนั้น ทุกอย่างจะกระจ่างค่ะ ว่าอันที่จริงแล้วคุณจิระนันท์เขียนอะไรลงไปในบทกวีบทนี้ :)
2.สังเคราะห์ : นำเนื้อหาในบทกวีมาเชื่อมโยงกับความจริงในประวัติศาสตร์
1.วิเคราะห์ : ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ทำไม >> ทั้งหมดนี้มีหัวใจอยู่ที่ชื่อเรื่อง "ประชาธิปไตย" และสิ่งที่สำคัญคือ 4 พฤศจิกายน 2516 ทุกคนรู้ว่าเวลาเป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่เคยให้ความสำคัญกับเวลา... มันคือจุดอ่อนอย่างที่สุดเลยนะคะ "รู้แต่ไม่ใช้ จะรู้ไปทำไม?"
ถ้าได้อ่านประวัติศาสตร์ในปีนั้น ทุกอย่างจะกระจ่างค่ะ ว่าอันที่จริงแล้วคุณจิระนันท์เขียนอะไรลงไปในบทกวีบทนี้ :)
2.สังเคราะห์ : นำเนื้อหาในบทกวีมาเชื่อมโยงกับความจริงในประวัติศาสตร์
ความหมายของบทกวีบทนี้ หมายถึงอะไร ?
คุณจิระนันท์ พิตรปรีชา ได้สรุปยุคสมัยของเธออย่างกระชับและงดงาม
"ดอกไม้" ของเธอคือคนหนุ่มสาว คือพลังศรัทธา บริสุทธิ์ กล้าหาญ
เป็นจิตสำนึกที่ถูกปลุกขึ้นมาในยามสังคมมืดมนผู้คนหมักหมม
"ดอกไม้" ของเธอคือคนหนุ่มสาว คือพลังศรัทธา บริสุทธิ์ กล้าหาญ
เป็นจิตสำนึกที่ถูกปลุกขึ้นมาในยามสังคมมืดมนผู้คนหมักหมม
"สตรีมีดวงตา
เพื่อเสาะหาชีวิตใหม่
มองโลกอย่างกว้างไกล
มิใช่คอยชม้อยชวน"
เพื่อเสาะหาชีวิตใหม่
มองโลกอย่างกว้างไกล
มิใช่คอยชม้อยชวน"
นี่คือจิตสำนึกของสตรี
แห่งยุค "เปลี่ยนมือที่อ่อนนิ่มเป็นลิ่มเหล็ก"
คุณจิระนันท์ พิตรปรีชา มีกาพย์กลอนบทนี้เป็นมงกุฏกวีของเธอ
มงกุฎกวีของคุณจิระนันท์มิได้สวมด้วยมือใคร
ยุคสมัยเท่านั้นที่สร้างเธอมาพร้อมกับมงกุฎกวี
เพราะบทกวีคือผลึกของความรู้สึกนึกคิด
ยุคสมัยของคุณจิระนันท์ได้เจียระไนเธอมาเช่นนี้
ช่วงวัยสิบกว่าขวบของคนเป็นช่วงพื้นฐานที่ซื้ออนาคตของเด็กได้
ช่วงวัยสิบกว่าขวบของคุณจิระนันท์ตกราว พ.ศ.2510
ตอนนั้นเด็กหญิงจิระนันท์ยังเป็นเด็กช่างอ่าน
ช่างเขียน และช่างเรียนรู้อยู่เมืองตรัง
เด็กต่างจังหวัดคือเด็กภูธร ไม่ใช่นครบาล ได้เปรียบเด็กเมืองหลวงตรงความใฝ่ฝันและทะเยอทะยาน
กอปรกับสิ่งแวดล้อม(บ้านของคุณจิระนันท์)เป็นร้านขายหนังสือและคุณแม่เป็นผู้รักในวิชาหนังสือและการศึกษา
สองสิ่งนี้คือพื้นฐานสำคัญที่สร้างความใฝ่ฝันและความใส่ใจในกาพย์กลอนของเด็กหญิงจิระนันท์มาเป็นจิระนันท์
พิตรปรีชาในปัจจุบัน
(หากเข้าใจทฤษฎีทางจิตวิทยา จะทราบว่าครอบครัวเป็นสถาบันแรกที่จะกำหนดพฤติกรรมของคนๆหนึ่งจริงๆค่ะ ลองอ่านได้ใน : www.oknation.net/blog/aj-pim)
ยุคสมัยของคุณจิระนันท์นั้น เป็นช่วงระหว่างยุค "เฟื่องการรัก" กับ "ชักธงรบ"
กาพย์กลอนในยุคเฟื่องการรักเล่นฉันทลักษณ์กันแม่นเปรี๊ยะ และด้านเนื้อหานักกลอนได้ผ่านการจับอารมณ์และความรู้สึกของตัวเองในเรื่องความรักอย่างลึกซึ้ง
หวานหวิว เช่น
"ดอกรักบานในใจใครทั้งโลก แต่ดอกโศกบานในหัวใจฉัน"
(ยุคเฟื่องการรัก คือ ยุคที่บทกวีเกี่ยวกับความรักรุ่งเรือง โดนใจคน คิดว่าสาเหตุน่าจะมาจากโดยธรรมชาติมนุษย์ทุกคนมีความต้องการทางเพศ เนื่องจากฮอร์โมนในร่างกายที่ผลิตออกมาตามวัย แต่ค่านิยมคนไทยสมัยนั้นปิดกั้นในเรื่องหนุ่มสาว จึงมีนักเขียนเพียงไม่กี่ท่านเท่านั้นที่กล้าส่งผ่านความรู้สึกเหล่านี้ผ่านงานเขียน คนส่วนใหญ่จึงชอบอ่านเพราะการอ่านสิ่งเหล่านี้จะช่วยปลดปล่อยความรู้สึกที่ต้องเก็บอยู่ภายในจิตใจ)
ถัดจากนี้เมื่อถึงยุค "ชักธงรบ"
หนุ่มสาวยุคนั้นมีส่วนผลักดันประวัติศาสตร์ให้เคลื่อนไปเท่ากับที่กระแสธารประวัติศาสตร์ก็ผลักดันให้หนุ่มสาวเติบโตเร็วด้วย
คุณจิระนันท์เป็นหนึ่งในผู้นำขบวนการนิสิตนักศึกษาและหนุ่มสาวรุ่นใหม่ยุค
14 ตุลาคม
เธอทำให้ภาพของนิสิตหญิงจำพวก "ดาวจุฬา-ธิดาโดม" เปลื่ยนจาก "ศรีจุฬาน่ารักเอย" และ "โสภาหนักหนาน่าโลม" มาเป็นภาพลักษณ์ใหม่ของคนหนุ่มสาวที่เคียงบ่าเคียงไหล่เข้าคัดต้านความอยุติธรรมในแผ่นดินอย่างทรนงองอาจ กลายเป็นวีระกรรมและตำนานที่ตรึงตราตรึงใจ
คุณจิระนันท์เริ่มเติบโตขึ้นภายใต้อิทธิพลนี้
เพราะฉะนั้น ความหมายของบทกวี"ประชาธิปไตย"บทนี้ อาจสื่อออกมาเพื่อทวงถามความยุติธรรมจากค่านิยมของสังคม และยกย่องชื่นชมความคิดความสามารถของผู้หญิงเก่ง โดยบรรยายความรู้สึกนึกคิดของเธอผ่านอารมณ์ เมื่อนึกถึงภาพดอกไม้ที่เธอคิดว่าสวยงามที่สุดและมีคุณค่าอย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่เพียงดอกไม้ที่่ตั้งไว้เพื่อกำหนดราคาค่างวดให้ซื้อขายกันตามท้องตลาด แต่เป็นดอกไม้ที่ยืนหยัดอยู่บนผืนดิน รู้ร้อนรู้หนาว ทนแดดทนฝน โดยไม่จำเป็นต้องประดับไว้บนแจกันเกียรติยศของใครๆ
คุณจิระนันท์ ได้รับรางวัลซีไรต์(S.E.A. Write) ในปี พ.ศ.2532 เนื่องจากงานเขียนของเธอเป็นผลงานที่ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางและมีหลากหลายรูปแบบที่เคยได้รับรางวัล ซึ่งล้วนแต่เป็นงานเขียนแนวสร้างสรรค์เพื่อจรรโลงสังคม
งานเขียนเหล่านี้สามารถจัดเป็นการบันทึกทางประวัติศาสตร์รูปแบบหนึ่งให้คนรุ่นหลังสามารถศึกษาค้นคว้าได้ เราเรียนประวัติศาสตร์ไม่ใช่เพียงการท่องจำ แต่เพื่อสัมผัสถึงความเป็นมาและความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ต่อทุกสิ่งรอบตัว หากเหตุการณ์หรือสิ่งใดๆที่บรรพบุรุษบันทึกไว้ว่าทำให้เจ็บปวด ลองเอาใจเขามาใส่ใจเรา แล้วหาแนวทางป้องกันอย่าให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอย...
อ้างอิง