วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การตีความ : ตีความพระอภัยมณี

เนื้อเรื่องและรายละเอียดอื่นๆอ่านได้ตามลิ้งค์นี้นะคะ >> thaigoodview

ไฟล์:Sunrise on Hat Saikaew, Koh Samet.jpg
 การตีความ หมายถึง อะไร?
"การอ่านตีความ หมายถึง การอ่านเพื่อให้เข้าใจความหมายหรือความคิดสำคัญของเรื่อง รวมไปถึงความรู้สึกและอารมณ์จากบทประพันธ์"
***การอ่านแปลความ ตีความ ขยายความ ต่างกันนะคะ

คุณค่าของงานเขียนไม่ได้ขึ้นอยู่กับความบันเทิงของเรื่อง แต่ขึ้นอยู่กับสิ่งที่จะได้จากเนื้อเรื่อง เป็นเหตุผลที่คุณครูถามข้อคิดที่ได้จากเรื่องที่อ่านเสมอไงคะ ^^
เพราะฉะนั้น การตีความจึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้การอ่านของเราประสบความสำเร็จ!
สำหรับผู้ที่ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านตัวหนังสือมาให้เราอ่านกัน ไม่ใช่ว่าอยู่ๆก็เขียนซุ่มสี่ ซุ่มห้านะคะ ไม่งั้นใครๆก็คงเป็นนักเขียนได้สบายๆไปแล้ว 
แต่เขาเขียนจากประสบการณ์ ความรู้สึก หรืออารมณ์ค่ะ โดยพื้นฐานคนเราทุกคนมีความต้องการอยากได้ อยากมี อยากเป็นอยู่ลึกๆ แต่ส่วนใหญ่จะไม่เป็นไปตามที่หวัง จึงต้องพยายามลดอาการผิดหวังด้วยการระบายออกมาไม่ทางใดก็ทางหนึ่งค่ะ แต่ก็มีหลายคนที่แบ่งปันความสุขสมหวังผ่านการเขียนนะคะ :)

นิทานคำกลอนพระอภัยมณี
พระอภัยมณี
กวี :
สุนทรภู่
ประเภท :
นิทานคำกลอน
คำประพันธ์ :
กลอนสุภาพ
ความยาว :
94 เล่มสมุดไทย
สมัย :
ต้นรัตนโกสินทร์
ปีที่แต่ง :

เราจะรู้ได้อย่างไรว่า กวีเอกสุนทรภู่ต้องการสื่ออะไรผ่านนิทานพระอภัยมณี?
พื้นฐานง่ายๆสำหรับการอ่าน
       1.รู้ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ทำไม อย่างไร
       2.รู้เกี่ยวกับภูมิหลังของผู้เขียน เช่น ประวัติส่วนตัว การศึกษา
       3.รู้สถานการณ์ของสังคมในขณะนั้น
       4.นำข้อมูลทั้งหมดมาเชื่อมโยงกันให้ได้
ถ้า เราอ่านเนื้อเรื่องจนเข้าใจบวกกับพอรู้ว่าผู้เขียนผ่านอะไร เจออะไรมาบ้าง ก็จะสามารถรู้ได้ว่าเขากำลังสื่ออะไรผ่านเนื้อเรื่องค่ะ(คล้ายๆเวลาตามอ่าน สเตตัสคนอื่นนะคะ^^)

การ ตีความของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความสามารถ ประสบการณ์ และทัศนคติค่ะ ไม่มีใครถูกไม่มีใครผิด แต่ขึ้นอยู่กับว่า เราจะตีความได้ใกล้เคียงกับสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อได้มากแค่ไหน

ลองมาวิเคราะห์กันทีละส่วนนะคะ
1.ใคร ?
 

2.ทำอะไร ?
เยอะมากๆ แต่ส่วนสำคัญอยู่ในวรรคทองต่างๆของเรื่องนั่นแหละค่ะ
และอย่าลืมจุดเด่นของเรื่องนะคะ "ปี่"ที่พระอภัยมณีเป่า
"แม้นปี่เราเป่าไปให้ได้ยิน ก็สุดสิ้นโทโสที่โกรธา
ให้ใจอ่อนนอนหลับลืมสติ อันลัทธิดนตรีดีหนักหนา
ซึ่งสงสัยไม่สิ้นในวิญญาณ์ จงนิทราเถิดจะเป่าให้เจ้าฟัง"
(พระอภัยมณีอธิบายความวิเศษของดนตรีให้ศรีสุวรรณและสามพราหมณ์ฟัง)
เพลงที่พระอภัยมณีเป่าสามารถทำให้คนหายโกรธได้ ทำให้คนหลงรักได้ และฆ่าคนก็ได้...
มีคนตั้งสมมุติฐานว่า ปี่ในเรื่องเป็นตัวแทนของ "ปัญญา" ค่ะ >> http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2655.20;wap2

3.ที่ไหน? 
แผนที่แสดงฉากและบ้านเมืองต่าง ๆ ในพระอภัยมณีอยู่ทางทะเลอันดามัน ฉบับปรับปรุงใหม่ จากข้อเสนอของ "กาญจนาคพันธุ์" (ขุนวิจิตรมาตรา) เป็นท่านแรก ในพ.ศ. ๒๔๙๐

4.เมื่อไหร่ ?
พระอภัยมณี
กวี :
สุนทรภู่
ประเภท :
นิทานคำกลอน
คำประพันธ์ :
กลอนสุภาพ
ความยาว :
94 เล่มสมุดไทย
สมัย :
ต้นรัตนโกสินทร์
ปีที่แต่ง :
 จากข้างบนเลยค่ะ ^^

5.อย่างไร? ทำไม?
อันนี้ต้องไปวิเคราะห์กันในหนังสือเลยนะคะ

6.ภูมิหลังผู้เขียน
จากwikipedia  
        สุจิตต์ วงษ์เทศ ศิลปินแห่งชาติ "สุนทรภู่ เกิดวังหลัง ผู้ดีบางกอก มหากวีกระฎุมพี มีวิชารู้เท่าทันโลกและชีวิต"

7.สถานการณ์ขณะนั้น
หาใน google เลยค่ะ เช่น
เจ็ดขั้นตอนก่อนหน้านี้ เป็น การวิเคราะห์ นะคะ

 8.นำข้อมูลทุกอย่างมาเชื่อมโยงกันให้สมเหตุสมผล แค่นี้ก็ตีความได้แล้วค่ะ ^^ (การสังเคราะห์)
จากwikipedia
  • สุจิตต์ วงษ์เทศ ศิลปินแห่งชาติ ได้วิเคราะห์และตีความเรื่องพระอภัยมณีไว้ในหนังสือ สุนทรภู่ เกิดวังหลัง ผู้ดีบางกอก มหากวีกระฎุมพี มีวิชารู้เท่าทันโลกและชีวิต ว่า พระอภัยมณีเป็นวรรณคดีการเมืองที่ต่อต้านการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกในขณะ นั้น แต่สุนทรภู่ใช้กลวิธีแต่งเป็นนิทานกลอนปกปิดไว้อย่างแนบเนียน สามารถเห็นได้จากการที่ตัวละครเอกของเรื่องอย่างพระอภัยมณีที่ใช้ปี่ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่งหมายความว่าให้แก้ปัญหาด้วยสติปัญญาและสันติภาพนั่นเอง
  • ทองแถม นาถจำนง นักคิด นักเขียน และคอลัมนิสต์สยามรัฐ ก็ได้วิเคราะห์เรื่องพระอภัยมณีไว้คล้ายคลึงกับสุจิตต์ คือพระอภัยมณีสะท้อนภาพยุคที่นักล่าอาณานิคมขยายอิทธิพลเข้ามาสู่สยาม นอกจากนี้ทองแถมยังระบุด้วยว่า สงครามระหว่างพระอภัยมณีกับนางละเวงสะท้อนวิสัยทัศน์ของปราชญ์สยามในยุคนั้น ที่เริ่มมองเห็นปัญหาจากการรุกรานของชาติตะวันตกชัดขึ้น และวิสัยทัศน์ที่สุนทรภู่เปลี่ยนเรื่องสงครามการรบเป็นสงครามรักนั้นน่า ประทับใจมาก
  • นอกจากนี้ยังมีผู้ที่ได้วิเคราะห์วรรณคดีเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจ โดยกล่าวว่าการเป่าปี่ของพระอภัยมณี เป็นการคิดในเชิงปรัชญาพุทธ คือสุนทรภู่ให้พระอภัยมณีพอใจที่จะเรียนวิชาปี่ แทนที่จะให้ชำนาญอาวุธต่างๆ และยังให้พระอภัยมณีเป็นคนรูปงาม อ่อนแอ อ่อนโยน รักและมีความรู้เสียงดนตรี รู้จักใช้ดนตรีในการกล่อมใจคนและฆ่าคน ในลักษณะนี้พระอภัยมณีเป็นตัวละครที่สุนทรภู่สร้างขึ้นมาเพื่อให้รู้จัก วิสัยของมนุษย์ปุถุชนที่ยังหลงในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส และเอารูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสนั้นมาเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ในตอนท้ายพระอภัยมณีออกบวช ซึ่งสามารถตีความได้ว่า พระอภัยมณีเบื่อหน่ายในเรื่องโลกียสุข จึงละปัญญาในระดับโลกียะ ไปแสวงหาปัญญาในระดับโลกุตตระแทน

(อันนี้เป็นแบบสั้นๆนะคะ)

wikipedia เป็นเว็บไซต์ที่มีประโยชน์มากๆ เวลาเข้าไปหาข้อมูล ลองเลื่อนลงมาอ่านที่อ้างอิง จะมีเว็บไซต์อื่นๆที่เป็นประโยชน์อีกเยอะค่ะ :)









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น